เรียนรู้ด้วยโครงงาน

เรียนรู้ด้วยโครงงาน (Learn Through Projects)

โครงงานเป็นการเรียนรู้ที่สร้างแรงบันดาลใจ ความสำเร็จและพลังให้กับนักเรียน

การเรียนรู้ด้วยโครงงาน สร้างแรงบันดาลใจ ความสำเร็จและพลัง ให้กับนักเรียน ได้โดย

  • ให้ประสบการณ์นอกเหนือไปจากชั้นเรียน
  • เสริมสร้างทักษะสำคัญสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ การคิดเชิงวิพากษ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และความสร้างสรรค์
  • ให้นักเรียนได้มีโอกาสบูรณาการเทคโนโลยีเข้าสู่ชั้นเรียน และนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุสู่เป้าหมาย แทนที่จะเรียนแล้วจบลงตรงนั้น
  • ให้โอกาสเด็กได้ประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้รับจากการเรียนการสอนในระบบ
  • เพิ่มพูนความต้องการ ความสนใจ และจุดแข็งให้กับเด็กทุกคน และให้เด็กได้มีโอกาสทำงานด้วยจังหวะความเร็วของตน
  • สร้างให้เด็กเกิด “สำนึกในเป้าหมาย (sense of purpose)” และเสริมสร้างการตระหนักในคุณค่าของตน (self-esteem)
  • พัฒนาทักษะการอ่านเขียนและการสื่อสารให้แหลมคมยิ่งขึ้น โดยให้เด็กสามารถใช้สื่อต่างๆ เพื่อแบ่งปันกระบวนการและผลผลิตของตนต่อผู้อื่นอย่างเหมาะสม
  • บูรณาการทักษะและความรู้ในเนื้อหารายวิชาต่างๆ เพื่อให้เด็กได้เห็นและสร้างการเชื่อมโยงภายในหลักสูตร

เกณฑ์การกำหนดหัวข้อโครงงาน

  • มีสภาพความเป็นจริง เป็นรูปธรรม
  • สอดคล้องกับหลักสูตร
  • สอดคล้องกับระดับความรู้ความสามารถและวัยของผู้เรียน
  • เป็นสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ
  • ตอบสนองต่อความกระหายใคร่รู้ของเด็ก

ข้อดีของการเรียนรู้การเรียนรู้ด้วยโครงงาน

  • การออกแบบโครงงานที่ดีกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือร้นและใช้ทักษะการคิดขั้นสูง
  • เป็นการยกระดับศักยภาพการรับรู้สิ่งใหม่ๆ ให้กับตัวนักเรียน
  • ช่วยให้นักเรียนรู้จักการค้นคว้าและสร้างสรรค์ความรู้เชิงนวัตกรรมด้วยตนเอง
  • พัฒนาการทำงานแบบร่วมมือ และการสื่อสาร
  • ในกิจกรรมโครงงาน นักเรียนจะตั้งเป้าหมายการทำงานให้กับตัวเอง นับเป็นการฝึกตั้งเป้าหมายชีวิตควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอื่นๆ
  • ช่วยพัฒนาความตระหนักในคุณค่าของตนเอง (self-esteem) ที่โดกปกติแล้ว ในการเรียนการสอนในระบบ เด็กมักประสบปัญหาเมื่อสอบได้ไม่ดีเท่าเพื่อน
  • พัฒนาเจตคติต่อการเรียนรู้ที่ถูกต้อง
  • หากผู้เรียนมีส่วนรับผิดชอบในโครงงาน ผลสัมฤทธิ์จะมีค่าเท่ากับหรือสูงกว่าการเรียนรู้แบบอื่น
  • เด็กได้เห็นการเชื่อมโยงของความรู้ในวิชาต่างๆ
  • ช่วยให้เกิดการทำงานแบบร่วมมือกับเพื่อนครูด้วยกัน
  • เป็นการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาชีพครู
  • ครูได้ค้นพบรูปแบบของวิธีสอนที่เหมาะสมกับความหลากหลายของนักเรียน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานสอนในระบบของตนได้ในหลายโอกาส

ความท้าทายของการเรียนรู้ด้วยโครงงาน

  • การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นการระดมทรัพยากรด้านต่างๆทั้ง ค่าใช้จ่าย เวลา แหล่งข้อมูลและแหล่งความรู้ ความคิด และความร่วมมือร่วมใจ สูงกว่าการจัดการเรียนรู้ในระบบมาก
  • ต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม และการร่วมมือกันกำหนดระยะเวลา วางแผน และดำเนินกิจกรรมระหว่างเพื่อนครูเพื่อบูรณาการข้ามสาระ
  • การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่เหมือนการเรียนการสอนในระบบ
  • ต้องอาศัยการบูรณาการเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
  • ต้องอาศัยแนวทางในการประเมินตามสภาพจริง

การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเพื่อให้สอดคล้องและเป็นลำดับตามข้อกำหนดและมาตรฐานการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์ เป็นงานที่ยากมากหรือเป็นไปไม่ได้เลย และยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนที่แสดงถึงว่าสถานศึกษาใดสามารถสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังได้ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงงานเท่านั้น อนึ่งในหลักสูตรของโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ การเรียนรู้ด้วยโครงงานนับเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งในการพัฒนานักเรียน (ใช้เวลา 80 คาบต่อปีการศึกษา ในเวลาเรียนทั้งหมดประมาณ 1500 คาบเรียนในหนึ่งปีการศึกษา)

บรรยากาศห้องเรียนเรียนรู้ด้วยโครงงาน

  • คำถามที่ตั้งควรมีคำตอบที่ถูกต้องได้มากกว่าหนึ่งคำตอบ
  • มีบรรยากาศที่จะยอมรับข้อผิดพลาดและการเปลี่ยนแปลง
  • นักเรียนได้ตัดสินใจโดยมีกรอบแนวคิด
  • นักเรียนได้ออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา
  • นักเรียนมีโอกาสประเมินกิจกรรมและผลงาน
  • มีกระบวนการการประเมินอย่างต่อเนื่อง
  • มีผลผลิตสุดท้ายที่สามารถนำมาประเมินคูณภาพได้

ลักษณะกิจกรรม

โครงงานของปีที่ผ่านมา

2551: มหัศจรรย์ใต้ท้องทะเล (Miracle of the Sea)

2552: มหัศจรรย์พรรณพฤกษา (Miracle of Plants)

2553: มหัศจรรย์โลกใบเล็ก (It’s a Small Wonderful World)

2554: ชีวีปรีดา...ชีวาน่าชื่นชม (It’s a Beautiful Life)

2555: จักรวาล (Universe)

2556: สัตว์โลกผู้น่ารัก

Error | Attaphiwat

Error

The website encountered an unexpected error. Please try again later.