กิจกรรมเรียนรู้คือความสุข

นอกจากวิชาแกนหลักที่ทางโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ได้มุ่งเน้นแล้ว กิจกรรมเสริมการเรียนรู้นั้นก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพื่อให้การเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสุขสนุกสนาน ทางโรงเรียนได้แบ่งจัดกิจกรรมตามการเสริมสร้างในด้านต่างๆ ดังนี้

  • กิจกรรมเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า
       เป็นการฝึกฝนให้เด็กมีทักษะการพูดและการแสดงออกที่ดี
  • กิจกรรมเรียนรู้ด้วยการคิด
       ช่วยให้เด็กฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ
  • กิจกรรมเรียนรู้ด้วยโครงงาน
       การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการลงมือปฏิบัติ
  • กิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน
       ความรู้ไม่เคยถูกปิดกัน ในทุกๆ สถานที่คือการเรียนรู้
  • กิจกรรมเรียนรู้ด้วยการอ่าน
       เมื่อได้อ่านเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เด็กเกิดความชำนาญในการอ่าน การสรุปใจความ การวิเคราะห์ ฯลฯ

นักเรียนได้อะไรจากกิจกรรม “เรียนรู้คือความสุข”

นับเป็นโอกาสดีสำหรับเด็กๆ ในยุคนี้ ที่ได้เกิดมาในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ การเข้าถึงแหล่งความรู้ทำได้หลายวิธีและสะดวกอย่างมาก ซึ่งเปรียบเทียบไม่ได้เลยกับโลกในยุคเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ซึ่งดูเหมือนว่าห้องสมุดจะเป็นแหล่งเรียนรู้เพียงแห่งเดียวและห้องสมุดก็มัก จะมีแหล่งข้อมูลอย่างจำกัดเป็นอย่างมาก

แหล่งข้อมูลที่เด็กๆ สามารถเข้าถึงได้ น่าสนใจและเหมาะสมกับวัย แต่ไม่ได้บรรจุอยู่ในหลักสูตรยังมีอยู่มากมาย “เรียนรู้คือความสุข” เป็นกิจกรรมมีรูปแบบการดำเนินกิจกรรมหลายหลากที่น่าสนุก ชวนติดตามและเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ให้กับเด็กๆ กิจกรรม “เรียนรู้คือความสุข” ได้ให้อะไรมากมายหลายอย่างกับนักเรียนที่โรงเรียนฯ

  • เปิดโลกทัศน์นักเรียนให้กว้างขวาง รู้จักโลกรอบตัวของพวกเขา
  • สร้างความทันสมัยในเรื่องข่าวสารข้อมูล ทำให้นักเรียนได้รับรู้ข้อมูล เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ บุคคล และเหตุการณ์รอบตัวทั้งในแนวกว้างและแนวลึก
  • บูรณาการความรู้ที่เรียนในกลุ่มสาระวิชาต่างๆ สู่กิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการยกระดับทักษะการเรียนรู้
  • สร้างเจตคติที่ถูกต้องต่อการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนเห็นการเรียนรู้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีความสุขกับการได้เรียนรู้ เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาตนเองเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learners)
  • พัฒนาทักษะและตรรกะในการคิดทั้งในเชิงวิเคราะห์เชิงกระบวนการ เชิงวิพากษ์และเชิงสร้างสรรค์(critical and creative thinking)
  • ฝึกให้นักเรียนได้คิดในระดับที่สูงขึ้น (higher orderthinking)
  • พัฒนาทักษะด้านสังคม ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • กระตุ้นให้กล้าแสดงออกซึ่งความคิดและความคิดเห็น กล้าคิด กล้าซักถามในสิ่งที่ตนกระหายใคร่รู้
  • ฯลฯ

เรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า

เรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า (Learn through Stories)

เด็กๆ กับเรื่องเล่า

เด็กทุกคนล้วนมีความใฝ่รู้ และมีความสุขกับการได้ฟัง ได้ชม เพลิดเพลิน เข้ามีส่วนร่วม และเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมเรื่องเล่าที่หลายหลาก ประเภทของเรื่องเล่าที่เด็กชอบที่จะฟังมีอยู่มากมายเช่น นิทาน ตำนาน ชีวิตสัตว์ประวัติศาสตร์ เรื่องเกี่ยวกับบุคคล เรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ สถานที่ที่น่าสนใจ เรื่องลี้ลับ ฯลฯ

กิจกรรมเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่าจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับลักษณะของนักเรียนดังกล่าวข้างต้น และพัฒนานักเรียนในหลายด้าน:

  • เป็นกิจกรรมเรียนรู้ที่ไม่จำกัดขอบเขต จัดให้เหมาะสมสอดคล้องกับระดับของนักเรียนได้ง่าย
  • เด็กๆ ได้รับรู้เรื่องราวรอบตัว ทำให้เปิดกว้างต่อการคิดและการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างเต็มใจ โดยไม่คำนึงว่าเรื่องนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับวิชาที่เรียนในระบบหรือไม่
  • ยกระดับโลกทัศน์ให้กับนักเรียนได้อย่างกว้างขวาง
  • สร้างให้เด็กเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ และทำให้นักเรียนได้ค่อยๆ ซึมซับเจตคติที่ถูกต้องต่อการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต
  • ขยายขอบเขตการเรียนรู้ในกลุ่มสาระวิชามุมมองที่กว้างขวางและ/หรือลึกซึ้งขึ้น
  • เด็กๆ ได้เห็นและเข้าใจถึงวิธีการค้นคว้าข้อมูล เพื่อการนำเสนอ

ธีมและหัวข้อเรื่องเล่า

เราสามารถเลือกสรรหาธีมหรือหัวข้อเรื่องเล่าที่เหมาะสมกับความสนใจของนักเรียนได้มากมาย ต่อไปนี้เป็นบางตัวอย่างของเรื่องเล่าที่โรงเรียนฯ นำมาใช้ในช่วงระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา

อาณาจักรอียิปต์โบราณ

  • พีระมิด
  • แม่นำ้ไนล์
  • มัมมี่: ความเชื่อในโลกหลังความตายและการทำมัมมี่
  • เทพเจ้าและตำนานเทพเจ้าอียิปต์
  • ฟาโรห์
  • วิหารอียิปต์
  • อักษรฮีโรกลิฟฟิกส์ (Hieroglyphics)

โลกลี้ลับ

  • อาณาจักรอินคา
  • สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า
  • เส้นนาซก้า
  • ยูเอฟโอกับมนุษย์ต่างดาว
  • เกาะเทพเจ้าราปานุย
  • วงกลมปริศนา (Crop circles)

สารคดีชีวิตสัตว์

สถานที่สำคัญของโลก

  • Acropolis
  • กำแพงเบอร์ลิน
  • โคลอสเซียม
  • หอเอนปิซา
  • มหาพีระมิดแห่งกิซา
  • มาชูปิกชู
  • อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ
  • นครวัด นครธม
  • หอไอเฟล
  • พิพิธภัณฑ์ลูฟร์
  • จตุรัสแดง
  • สโตนเฮนจ์
  • กำแพงเมืองจีน
  • ทัชมาฮาล

บุคคลประวัติศาสตร์

  • มหาราชของไทย
  • หลวงพ่อพุทธทาส
  • ลีโอนาร์โด ดา วินซี
  • พระเจ้านโปเลียนมหาราช
  • พระพุทธเจ้า
  • พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
  • แม่ชีเทเรซา
  • เซอร์ไอแซ็ค นิวตัน
  • กาลิเลโอ

ข่าวรอบตัว

อาณาจักรกรีซโบราณ

  • นักปรัชญา ปราชญ์และกษัตริย์
  • สถาปัตยกรรมและวิหารกรีซ
  • เทพเจ้าและเทพนิยายกรีซ
  • ศิลปะกรีซ
  • อักษรกรีซ
  • กีฬาโอลิมปิก
  • มรดกกรีซ

สาธารณรัฐและอาณาจักรโรมัน

  • กำเนิดและการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน
  • ซีซาร์
  • สถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้าง เอควาดัคต์ โคลอสเซียม หอเอน วิหารเซนต์ปีเตอร์ ฯลฯ
  • ศิลปะโรมัน
  • เทพเจ้าโรมัน
  • อักษรและเลขโรมัน
  • มรดกโรมัน

เมืองสำคัญของโลก

  • มอสโคว์
  • ปักกิ่ง
  • วอชิงตัน ดี ซี
  • ปารีส
  • โรม
  • เวนิซ
  • ลอส แองเจลิส
  • ลอนดอน
  • เบอร์ลิน
  • โตเกียว
  • เมกกะ
  • นิวยอร์ค
  • เวียนนา
  • กรุงเทพฯ

เอกลักษณ์ไทย

  • ข้าวไทย
  • ธงชาติไทย
  • อักษรและภาษาไทย
  • ความเป็นเอกราช
  • อาหารไทย
  • เงินตรา
  • สถาบันพระมหากษัตริย์

เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน

  • สิ่งของเครื่องใช้
  • ยานพาหนะ
  • คอมพิวเตอร์
  • วัสดุ
  • ฯลฯ

 

เรียนรู้ด้วยการคิด

แม้ว่าในห้องเรียน นักเรียนจะได้รับการพัฒนาการคิดอยู่ตลอดเวลา แต่ก็เป็นการดำเนินการที่ผสมผสานไปกับเนื้อหาในกรอบของหลักสูตรโรงเรียนฯ โรงเรียนฯจึงได้พัฒนากิจกรรมเรียนรู้ด้วยการคิดขึ้นโดยใช้เวลาโฮมรูมวันละประมาณ30 นาทีหลังกิจกรรมเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า กิจกรรมดังกล่าวนี้เป็นกิจกรรมปลายเปิดเพื่อพัฒนากระบวนการคิดในด้านต่างๆ ทั้งที่อยู่ในและนอกเหนือหลักสูตร โดยจัดแบ่งหัวข้อตามวันดังนี้

  • วันจันทร์ .........เรียนรู้รอบทิศ
  • วันอังคาร........ภาษาอังกฤษแสนสุข
  • วันพุธ..............สนุกคิดคณิตศาสตร์
  • วันพฤหัสบดี .....ฉลาดพหุปัญญา
  • วันศุกร์ .............หรรษาภาษาไทย

ในช่วงเวลาดังกล่าวนักเรียนจะได้มี โอกาสทำใบงานที่ท่าทายความคิดในด้านต่างๆ ร่วมกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เรียนรู้รอบทิศ

ภาษาอังกฤษแสนสุข

สนุกคิดคณิตศาสตร์

ฉลาดพหุปัญญา

หรรษาภาษาไทย

 

เรียนรู้ด้วยโครงงาน

เรียนรู้ด้วยโครงงาน (Learn Through Projects)

โครงงานเป็นการเรียนรู้ที่สร้างแรงบันดาลใจ ความสำเร็จและพลังให้กับนักเรียน

การเรียนรู้ด้วยโครงงาน สร้างแรงบันดาลใจ ความสำเร็จและพลัง ให้กับนักเรียน ได้โดย

  • ให้ประสบการณ์นอกเหนือไปจากชั้นเรียน
  • เสริมสร้างทักษะสำคัญสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ การคิดเชิงวิพากษ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และความสร้างสรรค์
  • ให้นักเรียนได้มีโอกาสบูรณาการเทคโนโลยีเข้าสู่ชั้นเรียน และนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุสู่เป้าหมาย แทนที่จะเรียนแล้วจบลงตรงนั้น
  • ให้โอกาสเด็กได้ประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้รับจากการเรียนการสอนในระบบ
  • เพิ่มพูนความต้องการ ความสนใจ และจุดแข็งให้กับเด็กทุกคน และให้เด็กได้มีโอกาสทำงานด้วยจังหวะความเร็วของตน
  • สร้างให้เด็กเกิด “สำนึกในเป้าหมาย (sense of purpose)” และเสริมสร้างการตระหนักในคุณค่าของตน (self-esteem)
  • พัฒนาทักษะการอ่านเขียนและการสื่อสารให้แหลมคมยิ่งขึ้น โดยให้เด็กสามารถใช้สื่อต่างๆ เพื่อแบ่งปันกระบวนการและผลผลิตของตนต่อผู้อื่นอย่างเหมาะสม
  • บูรณาการทักษะและความรู้ในเนื้อหารายวิชาต่างๆ เพื่อให้เด็กได้เห็นและสร้างการเชื่อมโยงภายในหลักสูตร

เกณฑ์การกำหนดหัวข้อโครงงาน

  • มีสภาพความเป็นจริง เป็นรูปธรรม
  • สอดคล้องกับหลักสูตร
  • สอดคล้องกับระดับความรู้ความสามารถและวัยของผู้เรียน
  • เป็นสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ
  • ตอบสนองต่อความกระหายใคร่รู้ของเด็ก

ข้อดีของการเรียนรู้การเรียนรู้ด้วยโครงงาน

  • การออกแบบโครงงานที่ดีกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือร้นและใช้ทักษะการคิดขั้นสูง
  • เป็นการยกระดับศักยภาพการรับรู้สิ่งใหม่ๆ ให้กับตัวนักเรียน
  • ช่วยให้นักเรียนรู้จักการค้นคว้าและสร้างสรรค์ความรู้เชิงนวัตกรรมด้วยตนเอง
  • พัฒนาการทำงานแบบร่วมมือ และการสื่อสาร
  • ในกิจกรรมโครงงาน นักเรียนจะตั้งเป้าหมายการทำงานให้กับตัวเอง นับเป็นการฝึกตั้งเป้าหมายชีวิตควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอื่นๆ
  • ช่วยพัฒนาความตระหนักในคุณค่าของตนเอง (self-esteem) ที่โดกปกติแล้ว ในการเรียนการสอนในระบบ เด็กมักประสบปัญหาเมื่อสอบได้ไม่ดีเท่าเพื่อน
  • พัฒนาเจตคติต่อการเรียนรู้ที่ถูกต้อง
  • หากผู้เรียนมีส่วนรับผิดชอบในโครงงาน ผลสัมฤทธิ์จะมีค่าเท่ากับหรือสูงกว่าการเรียนรู้แบบอื่น
  • เด็กได้เห็นการเชื่อมโยงของความรู้ในวิชาต่างๆ
  • ช่วยให้เกิดการทำงานแบบร่วมมือกับเพื่อนครูด้วยกัน
  • เป็นการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาชีพครู
  • ครูได้ค้นพบรูปแบบของวิธีสอนที่เหมาะสมกับความหลากหลายของนักเรียน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานสอนในระบบของตนได้ในหลายโอกาส

ความท้าทายของการเรียนรู้ด้วยโครงงาน

  • การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นการระดมทรัพยากรด้านต่างๆทั้ง ค่าใช้จ่าย เวลา แหล่งข้อมูลและแหล่งความรู้ ความคิด และความร่วมมือร่วมใจ สูงกว่าการจัดการเรียนรู้ในระบบมาก
  • ต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม และการร่วมมือกันกำหนดระยะเวลา วางแผน และดำเนินกิจกรรมระหว่างเพื่อนครูเพื่อบูรณาการข้ามสาระ
  • การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่เหมือนการเรียนการสอนในระบบ
  • ต้องอาศัยการบูรณาการเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
  • ต้องอาศัยแนวทางในการประเมินตามสภาพจริง

การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเพื่อให้สอดคล้องและเป็นลำดับตามข้อกำหนดและมาตรฐานการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์ เป็นงานที่ยากมากหรือเป็นไปไม่ได้เลย และยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนที่แสดงถึงว่าสถานศึกษาใดสามารถสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังได้ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงงานเท่านั้น อนึ่งในหลักสูตรของโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ การเรียนรู้ด้วยโครงงานนับเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งในการพัฒนานักเรียน (ใช้เวลา 80 คาบต่อปีการศึกษา ในเวลาเรียนทั้งหมดประมาณ 1500 คาบเรียนในหนึ่งปีการศึกษา)

บรรยากาศห้องเรียนเรียนรู้ด้วยโครงงาน

  • คำถามที่ตั้งควรมีคำตอบที่ถูกต้องได้มากกว่าหนึ่งคำตอบ
  • มีบรรยากาศที่จะยอมรับข้อผิดพลาดและการเปลี่ยนแปลง
  • นักเรียนได้ตัดสินใจโดยมีกรอบแนวคิด
  • นักเรียนได้ออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา
  • นักเรียนมีโอกาสประเมินกิจกรรมและผลงาน
  • มีกระบวนการการประเมินอย่างต่อเนื่อง
  • มีผลผลิตสุดท้ายที่สามารถนำมาประเมินคูณภาพได้

ลักษณะกิจกรรม

โครงงานของปีที่ผ่านมา

2551: มหัศจรรย์ใต้ท้องทะเล (Miracle of the Sea)

2552: มหัศจรรย์พรรณพฤกษา (Miracle of Plants)

2553: มหัศจรรย์โลกใบเล็ก (It’s a Small Wonderful World)

2554: ชีวีปรีดา...ชีวาน่าชื่นชม (It’s a Beautiful Life)

2555: จักรวาล (Universe)

2556: สัตว์โลกผู้น่ารัก

เรียนรู้นอกห้องเรียน

เรียนรู้นอกห้องเรียน (Learn Beyond Classroom)

กิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน เป็นกิจกรรมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนฯ เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสสัมผัสกับแหล่งเรียนรู้จริง และยังเป็นโอกาสที่ครูและนักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกันนอกโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางเที่ยวปิดท้าย จะเป็นการพักแรมเป็นเวลา 1 คืน ในการเดินทางเพื่อเรียนรู้นอกห้องเรียนทุกครั้ง จะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก กลุ่มละ 10-15 คน ประกอบกับการเตรียมการล่วงหน้า ทำให้การทำกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนเกือบไม่ต้องเดินเรียงแถวหรือยืนรอนานซึ่งทำให้เสียบรรยากาศและโอกาสเรียนรู้  คุณครูแต่ละกลุ่มจะมีข้อมูลและมีความพร้อมในการดูแลนักเรียนเพื่อการเรียนรู้ดังกล่าว

การจัดการเรียนรู้นอกโรงเรียน ของโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์จะดำเนินไปอย่างมีระบบและมี 3 ขั้นตอนคือ

นอกเหนือจากเหตุผลของการเตรียมการแล้ว โรงเรียนฯ ได้จัดแหล่งเรียนรู้ในแต่ละปี ให้สอดคล้องกับธีมของ “เรียนรู้คือความสุข” ทำให้กิจกรรมนี้มีความหมายต่อนักเรียนมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างของแหล่งเรียนรู้ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเป็นดังนี้

ปี 2551: มหัศจรรย์ใต้ท้องทะเล (Miracle of the Sea)

  • Underwater World เมืองพัทยา
  • เรือประมงเชิงพาณิชย์ (เรือแม่) ท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร
  • โรงงานอาหารทะเลสำเร็จรูป พรานทะเล จังหวัดสมุทรสาคร
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน       จังหวัดจันทบุรี

 

 

 

 

ปี 2552: มหัศจรรย์พรรณพฤกษา (Miracle of Plants)

  • ท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดนนทบุรี
  • สวนผลไม้ปลอดสารพิษ
  • สวนกล้วยไม้ส่งออก
  • โรงปลูกผักกางมุ็งและผักไร้ดิน
  • โรงงานน้ำผลไม้ Unif จังหวัดสมุทรสาคร
  • อุทยานแห่งชาติปางสีดา จังหวัดสระแก้ว และศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา

ปี 2553: มหัศจรรย์โลกใบเล็ก (It’s a Small Wonderful World)

  • ความรุ่งเรืองในอดีต จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    • วัดใหญ่ชัยมงคล
    • วัดไชยวัฒนาราม
    • วัดราชบูรณะ
    • วัดมหาธาตุ
    • วัดพระศรีสรรเพชญ์
  • พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี
  • เมืองจำลอง เมืองพัทยา
  • สัมผัสโลกตะวันตก จังหวัดนครราชสีมา
  • Dairyhome
  • ไร่องุ่น PB Valley
  • Palio
  • Panther Creek
  • ไร่ทองสมบูรณ์

ปี 2554: ชีวีปรีดา...ชีวาน่าชื่นชม (It’s a Beautiful Life)

  • I Am Thai
  • วัดพระแก้วฯ และพระบรมมหาราชวัง
  • Museum Siam
  • ทำข้าวกล่อง Bento
  • My Beautiful Life จังหวัดราชบุรี
  • อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม
  • โรงงานเซรามิคเถ้าฮงไถ่
  • Big C Supermarket
  • ธารบ่อน้ำร้อนบ่อคลึง
  • บ้านหอมเทียน
  • The Scenery Resort & Farm
  • ภูผาผึ้งรีสอร์ท

แหล่งเรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งความรู้ที่มีคุณค่าอีกลักษณะหนึ่งสำหรับกิจกรรม “เรียนรู้นอกห้องเรียน” โรงเรียนฯ ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนได้สัมผัสและเรียนรู้ถึงการทำงานของแหล่งชุมชนต่างๆ หรือเรียนรู้เกี่ยวกับสถานท่ีสำคัญของจังหวัดสมุทรสาคร เช่น อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงมีพระกรุณามหาธิคุณจัดตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกของประเทศไทยที่ตำบลท่าฉลอมและถูกพัฒนาต่อมาเป็นเทศบาล ศาลเจ้าพันท้ายนรสิงห์  โรงพยาบาลบ้านแพ้วซึ่งเป็นองค์การมหาชนที่มีชื่อเสียงของประเทศ ศูนย์วิทยาศาสตร์ สมุทรสาคร สำนักงานไปรษณีย์ ศูนย์ 3 วัย ศูนย์เบญจรงค์ พื้นที่ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวมหาชัย

เรียนรู้ด้วยการอ่าน

อ่านเพื่อเรียนรู้ (Read to Learn)

อ่านเพื่ออะไร (Reasons to Read)

  • การอ่านช่วยให้เราเป็นบุคคลที่น่าสนใจ (Reading helps you become an interesting person.)
  • การอ่านช่วยให้เราเขียนได้ดี (Reading helps you learn how to write correctly.)
  • การอ่านให้ความเพลิดเพลิน (Reading entertains you.)
  • การอ่านสอนให้เราได้รู้จักสิ่งใหม่ๆ (Reading teaches you about things unfamiliar to you.)
  • การอ่านพาเราไปดินแดนที่เราไม่เคยไป (Reading helps you to places you’ve never visited.)
  • การอ่านพาเราไปสู่กาลเวลาที่เราไม่เคยได้ประสบ (Reading takes you to times you’ve never experienced.)
  • การอ่านแนะนำให้เรารู้จักกับบุคคลที่เราไม่เคยเจอ (Reading introduces you to people you’ve never met.)
  • การอ่านแนะนำให้เรารับความคิดใหม่ๆ (Reading introduces you to new ideas.)

ความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่าน

เมื่อพูดถึงการเรียนการสอนเกี่ยวกับการอ่าน วิชาที่เราจะคิดถึงทันทีได้แก่ วิชาภาษาไทยและ/หรือวิชาภาษาอังกฤษ และโดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะคิดว่าก็มีอยู่เพียงสองวิชานี้เท่านั้น ที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน แท้ที่จริงแล้วการเรียนการสอนในวิชาทางภาษาส่วนใหญ่ เป็นการพัฒนาความสามารถให้อ่านได้ ให้เข้าใจในหลักภาษา (Learn to Read) เพื่อนำเอาความสามารถเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่ออ่านได้เป็น สามารถคิดวิเคราะห์เนื้อความที่อ่าน ในแง่มุมต่างๆ ในการพอกพูนความรู้ความเข้าใจได้ (Read to Learn)

กิจกรรม “อ่านเพื่อเรียนรู้ (Read to Learn)

การจัดการเรียนรู้ “อ่านเพื่อเรียนรู้ (Read to Learn)” นี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่โรงเรียนฯ ได้ริเริ่มและกำลังดำเนินการอยู่ในวิชาภาษาไทย โดยโรงเรียนฯ ได้เรียบเรียงตำราเรียน “เพลินภาษา” เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนดังกล่าว ทั้งนี้โรงเรียนฯจะได้ขยายกิจกรรมดังกล่าวให้ครอบคลุมกลุ่มสาระรายวิชาหลักและจัดทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในส่วนของเอกสาร ตำราและบทความที่ใช้ รวมถึงคณะครู เพื่อให้นักเรียนได้เห็นถึงประโยชน์ เป้าหมายและการประยุกต์ใช้ ของการอ่านได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยจัดดำเนินการในรูปกิจกรรมหนึ่งใน “เรียนรู้คือความสุข”

 

 

 

 

ทักษะการ “อ่านเพื่อเรียนรู้”

“อ่านเพื่อเรียนรู้” เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนใน 8 ด้านได้แก่

  • ความคิดหลักและรายละเอียด
  • ลำดับเหตุการณ์
  • เปรียบเทียบความคล้ายและความแตกต่าง
  • สรุปย่อ
  • สรุปความ
  • มูลเหตุและผลลัพธ์
  • ปัญหาและคำตอบ และ
  • ข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น

การดำเนินกิจกรรม “อ่านเพื่อเรียนรู้”

คณะครูจากกลู่มสาระวิชาแกนเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบในกิจกรรมดังกล่าวนี้ โดยที่ในปัจจุบันโรงเรียนฯ ได้คัดสรรและจัดหาหนังสือที่เหมาะสมในการนำมาใช้ได้แล้วเป็นจำนวนกว่า 200 เล่ม การจัดกิจกรรมการอ่านที่มีความหมายจะเริ่มต้นจากการจัดหมวดหมู่รายการหนังสือที่จะนำมาใช้ แนวทางหลักในการจัดหมวดหมู่หนังสืออาจทำได้ดังนี้

จัดตามประเภท

  • จินตนาการ
  • เรื่องเล่าเค้าโครงความจริง
  • เรื่องลี้ลับ
  • เรื่องเล่าเชิงประวัติศาสตร์
  • ชีวประวัติ
  • วรรณกรรมเด็ก
  • นิยายวิทยาศาสตร์
  • ฯลฯ

จัดตามสาขา

  • วรรณกรรม
  • สังคมและวัฒนธรรม
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ศิลปะ

ฯลฯ

จัดตาม Theme

  • บุคคลสำคัญ
  • สถานที่สำคัญ
  • ประเทศที่น่าสนใจ
  • เทคโนโลยี
  • จินตนาการ
  • จักรวาลและอวกาศ

ฯลฯ

 

 

คณะทำงานได้ร่วมประชุมระดมความคิดในการจัดทำกิจกรรมการอ่านและเขียนที่หลายหลาก และให้นักเรียนได้มีโอกาศผลิตผลงานเฉพาะของตนเอง ตลอดจนถึงการจัดกิจกรรมเกมต่างๆ เพื่อสร้างเป้าหมายการอ่านของนักเรียนให้เด่นชัด และให้นักเรียนเห็นถึงคุณค่าของการอ่าน

Error | Attaphiwat

Error

The website encountered an unexpected error. Please try again later.