การเรียนรู้แบบบันไดเวียน (Spiral Learning)

การเรียนรู้แบบบันไดเวียน (Spiral Learning)

การเรียนรู้แบบบันไดเวียน เป็นการจัดการเรียนรู้จากง่ายไปหายากในแต่ละสาระหรือหัวข้อ โดยให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ในทุกหัวข้อในทุกชั้นปี แทนที่จะเรียนจบเป็นเรื่องๆ ในแต่ละปี การจัดการเรียนรู้ลักษณะนี้สร้างความสำเร็จในการเรียนรู้ให้กับนักเรียนเป็นอย่างมาก นอกเหนือจากคณิตศาสตร์แล้ว โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ได้นำเอาการจัดการเรียนรู้แบบนี้มาใช้กับทุกกลุ่มสาระรายวิชา ผลก็คือนักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาตนเอง ได้ทบทวนและยกระดับความคิด ความรู้ความเข้าใจ ทักษะและความคล่องแคล่ว ในทุกเรื่อง

แบบฝึกหัดและโจทย์

“งานที่มอบหมายที่ต้องการให้ทำให้เสร็จในห้องเรียนหรือที่บ้านควรจะต้อง ยกระดับความเข้าใจ ทักษะและความคล่องแคล่วด้านคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียน และพึงระมัดระวังให้แน่ใจว่างานที่มอบหมายเป็นส่วนเพิ่มเติมที่มีความหมายของแนวคิดที่สอนในห้องเรียน การคำนวณที่ซ้ำซากหรืองานการบ้านอื่นที่คล้ายกันมักจะยับยั้งความสร้างสรรค์ ความรักในคณิตศาสตร์และความปรารถนาที่จะต่อยอดการเรียนรู้ของนักเรียน งานที่มอบหมายควรที่จะพัฒนาระดับความคิดที่สูงขึ้นโดยจัดโครงสร้างในรูปแบบการแก้ปัญหาเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสได้ประยุกต์ความคิดทางคณิตศาสตร์ที่ได้เรียน”

— Saskatchewan Education, Canada

ด้วยพื้นฐานการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวข้างต้นทำให้ โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์มีโอกาสได้ศึกษา และคัดสรรโจทย์ปัญหาจำนวนมากจากแหล่งหลายหลากที่มีคุณภาพเพื่อยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียน นอกจากนี้แล้ว โรงเรียนฯ ยังได้พัฒนาโจทย์ปัญหาเฉพาะด้านเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฝน ประยุกต์พื้นฐานความรู้ผนวกกับเทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาต่างลักษณะ แหล่งความรู้สำคัญในการพัฒนาโจทย์ปัญหาของโรงเรียนได้แก่ โจทย์ปัญหาเฉพาะด้านของหลักสูตรประเทศสิงคโปร์ โจทย์ปัญหาเพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการคิด Innovative Maths ของ CIMT มหาวิยาลัยพลีมัธและมหาวิทยาลัยเอ็กซีเทอร์ สหราชอาณาจักร และตำราเรียนของสำนักพิมพ์ Harcourt ประเทศสหรัฐอเมริกา

Error | Attaphiwat

Error

The website encountered an unexpected error. Please try again later.