กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ จัดการเรียนรู้โดยเน้นความสำคัญของภาษาในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร แสวงหาความรู้ และประสบการณ์ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ อย่างมีสุนทรียภาพ การเรียนรู้ด้านภาษาไทยของโรงเรียนจึงให้น้ำหนักและความสำคัญในส่วนของการอ่านและการพัฒนากระบวนการคิดที่เป็นระบบให้กับนักเรียน
โรงเรียนได้ออกแบบจัดทำหลักสูตรภาษาไทยเป็นของตนเอง โดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นพื้นฐาน มีการนำเอาเอกสารตำราเรียน ภาษาพาที และ วรรณคดีลำนำ ตามข้อกำหนดของกระทรวงฯมาให้นักเรียนได้ใช้เรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อความครบถ้วนตามหลักสูตรขั้นพื้นฐานและการพัฒนาความสามารถด้าน คำศัพท์ ให้แก่นักเรียน
การสะสมคำศัพท์
ในส่วนของ คำศัพท์ โรงเรียนกำหนดให้นักเรียนใช้ แบบฝึกทักษะการเขียนและการสะกดคำ ของศูนย์ส่งเสริมวิชาการ เนื่องจากพิจารณาแล้วพบว่า มีการรวบรวมคำศัพท์จากหนังสือ ภาษาพาที และ วรรณคดีลำนำ ซึ่งเป็นหนังสือเรียนภาษาไทยที่จัดทำขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการ ไว้เป็นจำนวนมาก และยังมีแบบฝึกหัดที่เหมาะสมสำหรับการฝึกเขียนคำอย่างหลากหลาย ทั้งนี้ โรงเรียนได้กำหนดให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องราวพื้นฐานจากหนังสือเรียนภาษาพาทีและวรรณคดีลำนำของกระทรวงศึกษาธิการด้วยเช่นเดียวกัน
หลักและการใช้ภาษา
โรงเรียนมีแบบฝึกหัดเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฝนด้านหลักภาษาโดยตรง รวมทั้งแบบฝึกหัดการใช้ภาษา และ แบบฝึกการเขียน ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดทำขึ้นเองจากหลักสูตรของโรงเรียนผนวกกับการวิจัยค้นคว้ารวบรวมจากหนังสือทุกสำนักพิมพ์ที่มีขายอยู่ในร้านหนังสือในปัจจุบัน จึงมั่นใจได้ว่า เนื้อหาหลักและการใช้ภาษาของโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ไม่เพียงแต่จะสอดคล้องกับหลักสูตรภาคบังคับของกระทรวงฯ แต่ยังมีความครอบคลุมในเนื้อหา (แนวกว้าง) ที่มากกว่าและลึกซึ้งในรายละเอียด (แนวลึก) มากกว่า
วรรณคดีและวรรณกรรมไทย
โรงเรียนตระหนักดีถึงคุณค่าและอรรถรสทางสุนทรียภาพที่นักเรียนควรจะได้รับจากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมไทยในแต่ละชั้นปีนักเรียนไม่ควรถูกจำกัดประสบการณ์การเรียนรู้อยู่แต่เพียงวรรณกรรมหรือวรรณคดีไทยเพียงเรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ควรที่จะได้มีโอกาสรับรู้และสัมผัสคุณค่าในส่วนนี้อย่างกว้างขวาง โรงเรียนจึงได้จัดทำหนังสือ “กานท์กวี” เพื่อรวบรวมบทกวีและคำประพันธ์ตามบทบังคับของกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนบทร้อยกรองที่มีคุณค่าทางวรรณกรรมซึ่งมีความงดงามทางภาษาและฉันทลักษณ์ มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกอ่านและฝึกท่อง เพื่อที่นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสุนทรียภาพทางภาษา และเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยและวรรณคดีไทยไปพร้อมๆกัน
การใช้ห้องสมุด
โรงเรียนได้จัดกิจกรรม หนอนน้อยนักอ่าน โดยความร่วมมือกับ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ชวนน้องอ่าน (The Pizza Company Book Club) เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและเห็นคุณค่าของหนังสือ และมีกิจกรรมฝึกให้นักเรียนเขียนบันทึกจากการอ่าน โดยมีพิซซ่าแจกฟรีและเกียรติบัตรเพื่อเป็นกำลังให้แก่นักเรียนที่สามารถอ่านหนังสือได้ตามเป้าหมาย ทั้งนี้ โรงเรียนได้ให้การสนับสนุนในการจัดหาหนังสือใหม่ๆที่มีคุณค่าน่าอ่านและเหมาะสำหรับนักเรียนจำนวนหลายพันเล่มจัดไว้ทั้งภายในและภายนอกห้องสมุดอย่างต่อเนื่องทุกปี
การอ่านจัดเป็นพื้นฐานสำคัญของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนได้จัดทำเอกสารตำราเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนในชื่อ หนังสือเรียน “เพลินภาษา” บทเรียนบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ
หนังสือนี้เป็นผลมาจากการที่โรงเรียนได้พยายามสืบเสาะค้นหาแนวทางที่จะพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านภาษาและการคิดให้กับตัวนักเรียน โดยได้แปลและเรียบเรียงจาก “Best Practices in Reading” Level A ของสำนักพิมพ์ Options Publishing Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา และ “Keep on Reading!” Level B–F ของสำนักพิมพ์ Peoples Publishing Group ประเทศสหรัฐอเมริกา
หนังสือเพลินภาษานี้ใช้ฝึกทักษะทางภาษาให้แก่นักเรียนโดยผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลายหลากและมีลักษณะปฏิสัมพันธ์ (Interactive) อย่างต่อเนื่องระหว่างครูและนักเรียน และระหว่างตัวนักเรียนเองอยู่ตลอดเวลา ช่วยฝึกฝนนักเรียนทั้งด้านการอ่านและการคิดไปพร้อมๆกัน โดยผ่านเรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งเรื่องแนว Fiction/Non-fiction , Science , Social Studies และ Math ในลักษณะรูปแบบของ Theme เพื่อให้นักเรียนได้เห็นถึงการเชื่อมโยง
บทเรียนเหล่านี้ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของนักเรียนในด้านต่างๆ ได้แก่ การหาความคิดหลักและรายละเอียดของเรื่อง (Main idea and Details) การจัดลำดับเรื่องราวตามลำดับเหตุการณ์ (Sequence) การเปรียบเทียบและการแยกแยะความแตกต่าง (Compare and Contrast) การหาข้อสรุปของเรื่อง (Summarize) การลงความเห็น (Make inferences) ข้อเท็จจริงและความคิดเห็น (Fact and Opinion) มูลเหตุและผลลัพธ์ (Cause and Effect) ปัญหาและคำตอบ (Problem and Solutions) และบทสรุป โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เริ่มต้นจากการฝึกทักษะการอ่านหรือการฟัง นำไปสู่การฝึกคิด มีการทำแบบทดสอบความเข้าใจจากการอ่าน ฝึกการจัดระบบความคิด ฝึกการสรุปเรื่องราว และฝึกทักษะการเขียน ทั้งรายบุคคลและเป็นทีม
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นมา หนังสือชุดนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของตำราเรียนภาษาไทยในระดับประถมศึกษา ในปัจจุบันครูผู้สอนยังได้ยกระดับการเรียนรู้ให้สูงขึ้นไปอีกโดยการสร้างเสริมด้วยแหล่งเรียนรู้ในอินเทอร์เน็ต โดยนำมาประกอบกระบวนการเรียนรู้ด้วยสื่อทัศนูปกรณ์ในด้านการนำเสนอด้วยรูปภาพ ผลสะท้อนจากการนำหนังสือชุดนี้มาใช้พบว่า สามารถพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนได้อย่างดีเยี่ยม
หนังสือ “เพลินภาษา” ถูกจัดเป็นธีม โดยที่แต่ละธีมถูกออกแบบเพื่อพัฒนาทักษะแต่ละด้านและประกอบด้วยบทเรียนย่อยในต่างๆ ลักษณะ ได้แก่ เรื่องเล่า เรื่องเล่าเค้าโครงความจริง เรื่องด้านวิทยาศาสตร์ เรื่องด้านสังคมศึกษา เรื่องด้านคณิตศาสตร์ และบททั่วไป ของธีมนั้นๆ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ทักษะการอ่าน | บทที่ 1 | บทที่ 2 | บทที่ 3 | บทที่ 4 | บทที่ 5 | บทที่ 6 | บทที่ 7 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
เรื่องเล่า | บ้านสี | บ่อน้ำหายไปไหน | วิลลี่กับถุงมือเบสบอล | แมลงเต่าทอง มีจุดสีดำได้อย่างไร | วอลรัสอารมณ์บูด | แข่งว่าว | สัตว์เลี้ยง ของห้องเรียน |
เรื่องเค้าโครงความจริง | สี | น้ำทุกหนแห่ง | ที่พำนักสัตว์ | แมลงและแมงมุมที่ช่วยดูแลสวน | นากทะเล | วันพิเศษทั่วโลก | บ้านในขวดโหล |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6
ทักษะการอ่าน | Theme สำหรับการเรียนรู้ | ||||
---|---|---|---|---|---|
ป. 2 | ป. 3 | ป. 4 | ป. 5 | ป. 6 | |
แยกแยะเรื่องเล่าจาก เรื่องเค้าโครงความจริง | ดวงจันทร์ | - | - | - | - |
ความคิดหลักและรายละเอียด | รถแทรกเตอร์ | ชีวิตในทะเล | ชีวิตในทะเลทราย | ชีวิตป่า | สะวันนา |
การจัดลำดับ | ข้าวโพด | ป่าเร็ดวู้ด | การไต่เขา | การเปลี่ยนรูปแบบ | เงิน เงิน ทอง ทอง |
การเปรียบเทียบและ การแสดงความแตกต่าง | แมลง | บ้านอัจฉริยะ | ถ้ำ | การขับเคลื่อนประชากร | หน้าที่การงาน |
บทสรุป | จีน | ยอดกีฬา | สิ่งประดิษฐ์ | การสื่อสารของสัตว์ | หินจากอวกาศ |
การหาข้อสรุป / การลงความเห็น | ม้า | ความลี้ลับของไดโนเสาร์ | การสำรวจดาวอังคาร | ชีวิตในอาณานิคม | โลกลี้ลับ |
ข้อเท็จจริงและความคิดเห็น | แม่น้ำ | เฮอร์ริเคน | ทอร์นาโด | แผ่นดินไหว | ภูเขาไฟ |
ปัญหาและคำตอบ | สัตว์เลี้ยง | ขยะล้นเมือง | สุนัขงาน | สำรวจใต้น้ำ | สะพาน |
นอกเหนือจากกิจกรรมการอ่านเพื่อพัฒนาการคิดและการเรียนรู้ในห้องเรียนแล้ว นักเรียนยังได้มีโอกาสฝึกเขียนฝึกคิด เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านด้วยกิจกรรมท้าทายและน่าสนใจที่หลายหลาก
ทักษะการอ่าน | กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน | |||
---|---|---|---|---|
แยกแยะเรื่องเล่า จากเรื่องเค้าโครงความจริง |
|
|
|
|
ความคิดหลักและรายละเอียด |
|
|
|
|
การจัดลำดับ |
|
|
|
|
การเรปรียบเทียบและการแสดงความแตกต่าง |
|
|
|
|
บทสรุป |
|
|
|
|
การสรุป/การลงความเห็น |
|
|
|
|
บทสรุป |
|
|
|
|
ข้อเท็จจริงและความคิดเห็น |
|
|
|
|
บทสรุป |
|
|
|
|
มูลเหตุและผลลัพธ์ |
|
|
|
|
บทสรุป |
|
|
|
|
ปัญหาและคำตอบ |
|
|
|
|
เป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อให้นักเรียนประยุกต์ใช้ความรู้ภาษาไทยในหลากหลายแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน กิจกรรมต่างๆ ได้แก่
กิจกรรมเรียนรู้คือความสุขคือกลุ่มกิจกรรมที่โรงเรียนได้จัดขึ้นเป็นพิเศษเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในหลักสูตร ประกอบด้วย กิจกรรมเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า เรียนรู้ด้วยการคิด เรียนรู้ด้วยโครงงาน และเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งได้มีการบูรณาการสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเข้าไว้ในกลุ่มกิจกรรมดังกล่าวนี้ ดังต่อไปนี้
เป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้ของนักเรียนในแต่ละวันด้วยการรับรู้เรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจและเหมาะกับวัยของนักเรียน ซึ่งคุณครูจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาเล่าเรื่อง (ประกอบภาพ/กิจกรรม) เกี่ยวกับเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ บุคคล สิ่งของ และอื่นๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ของนักเรียนไปสู่ขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นมา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้อย่างเป็นรูปธรรม ในเรื่องเล่าหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้
ปีการศึกษา 2551 | ปีการศึกษา 2552 | ปีการศึกษา 2553 |
เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก | นิทานไทย (วรรณคดีเรื่องต่างๆ) | นิทานไทย (นิทานพื้นบ้าน) |
สำหรับปีการศึกษา 2554 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้เล่าเรื่องเล่า เรื่อง รามเกียรติ์
เป็นกิจกรรมปลายเปิดเพื่อพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียนในด้านต่างๆ ทั้งที่อยู่ในและนอกเหนือหลักสูตร โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้ในหัวข้อ หรรษาภาษาไทย ในทุกๆ วันศุกร์
เป็นกิจกรรมที่ใช้การดำเนินการที่หลายหลากเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างเป็นกระบวนการ ในกิจกรรมนี้นักเรียนจะได้มีโอกาสฝึก/พัฒนากระบวนการคิดและกระบวนการทำงานในหัวข้อที่นักเรียนสนใจและเลือกเองภายใต้ Theme ที่กำหนด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้เข้ามามีบทบาทในกิจกรรมนี้โดยใช้ทักษะภาษาด้านต่างๆ ทั้งการฟัง (เรื่องเล่า การบรรยาย วิทยากร) การพูด (นำเสนองาน ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น) การอ่าน (การอ่านหนังสือ การอ่าน internet) และการเขียน ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมในหลายกิจกรรม ดังต่อไปนี้
ปีการศึกษา 2551 โครงงานมหัศจรรย์ใต้ท้องทะเล (Miracle of the Sea)
เป็นโครงงานในแนววิทยาศาสตร์ ซึ่งบูรณาการภาษาไทยเข้าไปโดยกิจกรรมดังนี้
ปีการศึกษา 2552 โครงงานมหัศจรรย์พรรณพฤกษา (Miracle of Plant)
เป็นโครงงานในแนววิทยาศาสตร์ ซึ่งบูรณาการภาษาไทยเข้าไปโดยกิจกรรมดังนี้
ปีการศึกษา 2553 โครงงานมหัศจรรย์โลกใบเล็ก (It ’s a Small Wonderful World)
เป็นโครงงานในแนวสังคมศาสตร์ ซึ่งบูรณาการภาษาไทยเข้าไปโดยกิจกรรมดังนี้
ปีการศึกษา 2554 โครงงานชีวีปรีดา...ชีวาน่าชื่นชม (It ’s a Beautiful Life)
เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน ซึ่งบูรณาการภาษาไทยเข้าไปในหัวข้อการเรียนรู้ “หนูเป็นคนไทย (I Am Thai) โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นไทยอย่างครบถ้วนทุกแง่มุม ทั้งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม อาหาร และการดำเนินชีวิต
เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างหลากหลายในโลกรอบตัวจากสถานที่จริง ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้ ทัศนคติ และโลกทัศน์ ในการเรียนรู้ที่มีความหมายให้กับนักเรียนได้อย่างมาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้บูรณาการในกิจกรรมนี้โดยการนำนักเรียนไปเรียนรู้ในสถานที่ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
ปีการศึกษา 2550 หัวข้อ วัฒนธรรมที่หลายหลาก (Culture Tours)
ปีการศึกษา 2553 หัวข้อมหัศจรรย์โลกใบเล็ก (It ’s a Small Wonderful World)
ปีการศึกษา 2554 หัวข้อชีวีปรีดา...ชีวาน่าชื่นชม (It ’s a Beautiful Life)