เมื่อพูดถึงการเรียนการสอนเกี่ยวกับการอ่าน วิชาที่เราจะคิดถึงทันทีได้แก่ วิชาภาษาไทยและ/หรือวิชาภาษาอังกฤษ และโดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะคิดว่าก็มีอยู่เพียงสองวิชานี้เท่านั้น ที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน แท้ที่จริงแล้วการเรียนการสอนในวิชาทางภาษาส่วนใหญ่ เป็นการพัฒนาความสามารถให้อ่านได้ ให้เข้าใจในหลักภาษา (Learn to Read) เพื่อนำเอาความสามารถเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่ออ่านได้เป็น สามารถคิดวิเคราะห์เนื้อความที่อ่าน ในแง่มุมต่างๆ ในการพอกพูนความรู้ความเข้าใจได้ (Read to Learn)
การจัดการเรียนรู้ “อ่านเพื่อเรียนรู้ (Read to Learn)” นี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่โรงเรียนฯ ได้ริเริ่มและกำลังดำเนินการอยู่ในวิชาภาษาไทย โดยโรงเรียนฯ ได้เรียบเรียงตำราเรียน “เพลินภาษา” เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนดังกล่าว ทั้งนี้โรงเรียนฯจะได้ขยายกิจกรรมดังกล่าวให้ครอบคลุมกลุ่มสาระรายวิชาหลักและจัดทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในส่วนของเอกสาร ตำราและบทความที่ใช้ รวมถึงคณะครู เพื่อให้นักเรียนได้เห็นถึงประโยชน์ เป้าหมายและการประยุกต์ใช้ ของการอ่านได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยจัดดำเนินการในรูปกิจกรรมหนึ่งใน “เรียนรู้คือความสุข”
“อ่านเพื่อเรียนรู้” เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนใน 8 ด้านได้แก่
คณะครูจากกลู่มสาระวิชาแกนเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบในกิจกรรมดังกล่าวนี้ โดยที่ในปัจจุบันโรงเรียนฯ ได้คัดสรรและจัดหาหนังสือที่เหมาะสมในการนำมาใช้ได้แล้วเป็นจำนวนกว่า 200 เล่ม การจัดกิจกรรมการอ่านที่มีความหมายจะเริ่มต้นจากการจัดหมวดหมู่รายการหนังสือที่จะนำมาใช้ แนวทางหลักในการจัดหมวดหมู่หนังสืออาจทำได้ดังนี้
จัดตามประเภท
จัดตามสาขา
ฯลฯ
จัดตาม Theme
ฯลฯ
คณะทำงานได้ร่วมประชุมระดมความคิดในการจัดทำกิจกรรมการอ่านและเขียนที่หลายหลาก และให้นักเรียนได้มีโอกาศผลิตผลงานเฉพาะของตนเอง ตลอดจนถึงการจัดกิจกรรมเกมต่างๆ เพื่อสร้างเป้าหมายการอ่านของนักเรียนให้เด่นชัด และให้นักเรียนเห็นถึงคุณค่าของการอ่าน