kindergarten

เด็กกับการเรียนรู้

เด็กเกิดมาพร้อมกับศักยภาพการเรียนรู้ และความอยากรู้อยากเห็นอย่างไม่มีขอบเขต ตั้งแต่ก่อนเกิดเด็กก็ได้เริ่มพัฒนากระบวนการเรียนรู้แล้ว โดยการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เด็กเกิดมาพร้อมกับความเฉลียวฉลาดด้านภาษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และจิตวิทยา ในช่วงแรกเกิด เด็กทารกมีอิสระในการดูแลการเรียนรู้ของตนเอง โดยที่เด็กจะเลือกสิ่งที่ต้องการเรียนและวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก หากเราลองไปทบทวนดูตัวเอง เราจะเห็นได้ว่าอัตราการเรียนรู้ในช่วงก่อนวัยเรียนอยู่ในระดับที่สูงมาก เราได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เช่น การฝึกพูด คำศัพท์และประโยคจำนวนมากที่เราใช้ตลอดชีวิตได้เริ่มพัฒนาขึ้นในวัยนี้ ดังนั้นเมื่อเริ่มเข้าเรียน เด็กจะได้รับและได้เรียนรู้ความรู้ แนวคิด ทักษะและค่านิยมมาแล้วระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่อายุวัยเรียน ในขณะที่ความอยากรู้อยากเห็นในตัวเด็กยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เด็กจะเริ่มเผชิญกับสถานการณ์ที่มีคำถามที่ยากขึ้นและไม่สามารถหาคำตอบได้จากสิ่งรอบๆ ตัวเอง จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นที่เด็กต้องการผู้ใหญ่ใจดีที่เข้าใจและเห็นใจเพื่อช่วยหาคำตอบ และพัฒนาสานต่อกระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กอย่างเหมาะสม

“เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”

“Well Begun Is Half Done!” การเรียนรู้ระดับปฐมวัยนับเป็นจุดเริ่มต้นการเรียนรู้อย่างเป็นทางการในชีวิตของเด็ก ในช่วงระยะนี้เด็กยังคงต้องการเรียนรู้ของอย่างต่อเนื่อง และนับเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญสำหรับการเรียนรู้ของเด็ก อย่างไรก็ตามเมื่อเด็กเริ่มเข้าโรงเรียน เรามักจะไม่ค่อยได้เห็นความอยากรู้อยากเห็นเหมือนเช่นที่เคยมีในตอนก่อนวัยเรียน

ทั้งนี้มูลเหตุสำคัญอาจจะเป็น กฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดจนเกินไป ลักษณะการจัดการเรียนการสอนที่น่าอึดอัด การสร้างทัศนคติผิดๆ โดยผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือที่เลวร้ายกว่านั้นคือ การที่ผู้รับผิดชอบการจัดการเรียนรู้มองว่าการเรียนเป็นภาระและหากจะให้เด็ก “เตรียมความพร้อม” ก็ไม่ควรสอน ซึ่งทำให้การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กที่เป็นมาตลอดตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ต้องหยุดชะงักไปอย่างน่าเสียดาย

การดำเนินการเรียนการสอนในระดับอนุบาลควรได้อาศัยธรรมชาติและความกระหายใคร่รู้ของเด็กเพื่อปูและปลูกฝังพื้นฐานสำคัญในด้านต่างๆ เป็นการสร้างความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในระดับชั้นต่อไป การจัดการเรียนรู้ดังกล่าวอาจครอบคลุมถึงการสร้างเจตคติที่ถูกต้องต่อตนเองและการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก และบ่มเพาะพัฒนาสติปัญญา โดยเฉพาะทักษะการคิด ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน และเขียน อย่างคล่องแคล่ว และทักษะและความสามารถในตัวเลข จำนวน และแนวคิดทางคณิตศาสตร์สิ่งที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งอันหนึ่งก็คือ เป้าหมายในการพัฒนาเด็กเหล่านี้ไม่ได้เป็นเป้าหมายที่โรงเรียนจะเลือกได้เพียงอย่างเดียว

ในทางตรงกันข้ามเป้าหมายเหล่านี้เอื้อและส่งเสริมซึ่งกันและกัน ประสบการณ์ของโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ได้สะท้อนให้เห็นว่า เมื่อโรงเรียนจัดให้มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่อบอุ่นและเหมาะสมกับธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก เด็กมีความสุขกับการเรียนรู้ ก่อให้เกิดการพัฒนาสติปัญญาในอัตราเร็วที่น่าประทับใจ ซึ่งส่งผลให้เด็กๆ มี ความมั่นใจในตนเอง และพัฒนาเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

แนวทางการจัดการเรียนรู้ปฐมวัย โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์พัฒนาสี่ด้าน

เป้าหมายการพัฒนาวัตถุประสงค์รากฐานด้านอารมณ์-สังคม

เด็กๆ จะเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการมีส่วนร่วมในกิจกรรม

  • แสดงความสนใจและกระตือรือร้นกับกิจกรรมห้องเรียน
  • ลองทำกิจกรรมใหม่อย่างเต็มใจ
  • เริ่มทำตามกฎ
  • เห็นประโยชน์ของกฏโดยการบอกผู้อื่น
  • ออกกฎเมื่อต้องการ
  • เสนอข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ต่อเพื่อนและครู
  • เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรอย่างเต็มใจ
  • เข้าร่วมรับผิดชอบเพื่อดูแลห้องเรียน (เช่น เก็บหนังสือ จัดห้องเรียนให้เป็นระเบียบ)

มีความมั่นใจในตนเองในฐานะสมาชิกคนหนึ่ง

  • ให้คุณค่ากับตัวเอง
  • ให้คุณค่าในคุณลักษณะและความสามารถของตน พร้อมทั้งยอมรับในข้อจำกัดของตน
  • มั่นใจเมื่อต้องอยู่ตามลำพัง
  • เริ่มสร้างและรักษามิตรภาพ
  • สามารถทำงานในสถานการณ์แก้ปัญหากับผู้อื่นได้อย่างสบายใจ
  • รู้จักที่จะเจรจาและประนีประนอมเมื่อมีความขัดแย้ง
  • เปิดกว้างต่อการเสนอแนะที่สร้างสรรค์
  • มีทักษะในการช่วยเหลือตัวเอง (เช่น พับเสื้อผ้า หาชุดนอน)
  • พัฒนาอารมณ์ขัน

ร่วมทำกิจกรรมด้วยตนเองและอย่างมั่นใจ

  • เลือกเข้าร่วมในกิจกรรมรายบุคคลหรือแบบกลุ่ม
  • เข้าหรือแยกออกจากกลุ่มทั้งในฐานะผู้เริ่มหรือผู้ตามอย่างไม่อึดอัดใจ
  • วางแผนและร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน
  • ริเริ่มและควบคุมกิจกรรมของตน
  • ทำงานอย่างอิสระ
  • คงรักษาความใส่ใจในกิจกรรมที่ตนเริ่มอย่างตั้งใจและไม่ท้อถอยจนเสร็จกิจกรรม

เคารพและเอาใจใส่กับความรู้สึกและสิทธิของผู้อื่น

  • รู้จักช่วยเหลือเพื่อนในด้านต่างๆ
  • ให้กำลังใจเพื่อน
  • ทำความเข้าใจในมุมมองของผู้อื่น
  • ฟังผู้อื่นพูดและตอบสนองด้วยความเข้าอกเข้าใจ
  • เห็นในคุณค่าของผู้อื่น
  • แบ่งปันสิ่งของและเวลาอย่างเต็มใจ
  • มีความเคารพในสมบัติของผู้อื่น
  • เข้าใจในคุณค่าของการมีมารยาทงาม

รู้จักรับผิดชอบในพฤติกรรมของตน

  • รู้จักเข้ารับความเสี่ยงที่ได้ถูกประเมินแล้ว
  • จัดการกับความสำเร็จในทางที่เป็นบวก
  • มองดูความล้มเหลวว่าเป็นประสบการณ์การเติบโต
  • สามารถยอมรับว่าทำผิด
  • กำหนดเป้าหมายที่เป็นไปได้
  • ประเมินผลงานของตน
  • ตัดสินใจและดำเนินการต่ออย่างเหมาะสม

รู้จักอารมณ์ของตนและพยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

  • แสดงความรู้สึกในทางสร้างสรรค์
  • รับรู้และยอมรับความรู้สึกของตนที่เกิดขึ้น
  • สำรวจความรู้สึกของตนและต้นเหตุของความรู้สึกนั้น
  • แก้ปัญหาในสถานการณ์ขัดแย้ง

เข้าใจถึงความจำเป็นในการดูแลสิ่งแวดล้อมและโลกให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

  • เริ่มเข้าใจถึงความจำเป็นในการปกป้องดูแลสิ่งแวดล้อม
  • เริ่มใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด
  • ตระหนักว่าตนมีส่วนร่วมในการดูแลโลก

เป้าหมายการพัฒนาวัตถุประสงค์รากฐานด้านร่างกาย

เด็กๆ จะเข้าร่วมในกิจกรรมที่ออกแบบเพื่อให้เด็กได้เห็นคุณค่าและได้สนุกสนานในการเคลื่อนไหวร่างกาย

  • ประสบการณ์การเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะต่างๆ ทั้งที่มีดนตรีและไม่มีดนตรีประกอบ (เช่น กระโดดสลับเท้าอย่างเบาๆ เลื้อย คลาน หมุน กลิ้ง เดิน)
  • ประสบการณ์การเคลื่อนไหวร่างกายเฉพาะส่วน ทั้งที่มีดนตรีและไม่มีดนตรีประกอบ (เช่น ยืด บิด ดัน ดึง แกว่งตัว คุกเข่า ม้วน เอื้อม)
  • ประสบการณ์การเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับความเร็ว (เช่น คลานช้าๆ กระโดดเร็ว)
  • ประสบการณ์การเคลื่อนไหวที่ใช้แรง (เช่น ยืนเขย่ง เดินกระแทก)
  • ประสบการณ์การเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับระยะ (เช่น เอื้อมและยืด นั่งยองๆ ยืดแขนให้กว้าง)
  • พัฒนาความสามารถในการสื่อสารด้วยร่างกาย
  • สามารถทำกิจกรรมโดยอิสระ หรือร่วมกับเพื่อน
  • สำรวจการเคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ (เช่น รถจักรยาน ห่วง อุปกรณ์การปีน)
  • พัฒนาการรู้จักความสามารถของส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • รู้สึกดีกับพัฒนาการด้านความสามารถทางร่างกายของตน)

เข้าร่วมในกิจกรรมที่ออกแบบเพื่อเริ่มบ่มเพาะนิสัยของการพัฒนาความแข็งแรงของร่างกายไปตลอดชีวิต ได้แก่ ความคงทนของกล้ามเนื้อและระบบหัวใจ ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และการดูแลน้ำหนักของตน

  • เรียนรู้ที่จะยอมรับภาพลักษณ์ทางร่างกายของตน
  • เห็นคุณค่าของความแข็งแรงของร่างกาย
  • รู้สึกว่าตนสามารถมีสุขภาพดีและแข็งแรงได้
  • มีส่วนร่วมในการเต้นแอโรบิคและกิจกรรมทางพลานามัยต่างๆ

เข้าร่วมในกิจกรรมที่เพิ่มพูนความเข้าใจในสิ่งกระตุ้นของสัมผัสต่างๆ

  • สำรวจประสาทสัมผัส
  • โฟกัสความตั้งใจโดยอาศัยการสัมผัส การดม การชิม การมองดู และการฟัง
  • พัฒนาความสามารถในการแยกแยะพื้นผิว กลิ่น รส ภาพ และเสียง
  • พัฒนาความสามารถในการอธิบายคุณภาพต่างๆของกลิ่น รส พื้นผิว และเสียง
  • พัฒนาความสามารถในการบันทึกถึง สัมผัส กลิ่น รส เสียง และภาพ (เช่น การทำเครื่องหมายนับ การวาด ภาพ)

เข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมการดูแลและเอาใจใส่ต่อร่างกายของตน

  • เรียนรู้และยอมรับวิธีการของความปลอดภัย
  • เริ่มรู้จักและรู้หน้าที่ของส่วนสำคัญของร่างกาย
  • พัฒนาสุขนิสัย
  • เห็นคุณค่าของการพักผ่อนและการผ่อนคลาย
  • เริ่มมีความคุ้นเคยกับวิชาชีพต่างๆที่เกี่ยวกับสุขอนามัย
  • เห็นในคุณค่าของการรับประทานอย่างมีอนามัย
  • ได้รับประทานอาหารที่มีอนามัยที่หลายหลากจากกลุ่มอาหารต่างๆ
  • เริ่มรู้จักความแตกต่างระหว่างโรค/ความพิการที่รักษาได้และรักษาไม่ได้
  • เรียนรู้ว่าจะช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้พิการได้อย่างไร
  • เข้าใจว่าความตายเป็นธรรมชาติหนึ่งของวงจรชีวิต

เข้าร่วมในกิจกรรมที่ออกแบบเพื่อปรับปรุงทักษะการเคลื่อนไหว

  • เพิ่มความเร็ว (วิ่งเร็ว)
  • ปรับปรุงเวลาตอบสนอง (เช่น หยุดเมื่อตบมือ ออกวิ่งเมื่อได้ยินเสียงระฆัง)
  • ปรับปรุงความกระฉับกระเฉง ว่องไว (เช่น เกมซึ่งเล่นในวงกลมโดยผู้เล่นจะโยนบอลไปยังผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามภายในวงกลมนั้นผู้เล่นจะต้องพยายามหลบไม่ให้โดนลูกบอลถ้าใครโดนลูกบอลต้องออกไปจากวงผู้ชนะคือคนที่ไม่โดนลูกบอลแตะถูกเลย)
  • ปรับปรุงการสอดประสานของกล้ามเนื้อใหญ่ (เช่น การกระโดด, การวิ่งควบ)
  • ปรับปรุงการสอดประสานของกล้ามเนื้อเล็ก (เช่น การชูนิ้วขึ้นหนึ่ง สอง สามนิ้ว ร้อยลูกปัด จับเครื่องมืออย่างถูกต้อง)
  • ใช้กล้ามเนื้อเพื่อพัฒนาทักษะในงานที่ต้องทำเอง (เช่น รูดซิปเสื้อ ผูกเชือกรองเท้า)
  • พัฒนาการสอดประสานระหว่างตากับมือ (เช่น ขว้างเป้าด้วยลูกบอล รับลูกบอล ต่อรูปต่อ ตัดโดยใช้กรรไกร)
  • พัฒนาการสอดประสานระหว่างตากับเท้า (เช่น เตะลูกบอล)
  • พัฒนาการรู้จักระยะของร่างกาย (เช่น หาระยะบนพื้นที่ตนไม่สามารถที่จะแตะคนอื่นถึง)
  • เริ่มรู้ว่าตนมีความถนัดมือ/เท้าไหน (เช่น หมุนแต่ละมือ ยกแต่ละเท้า)
  • พัฒนาการรู้จักทิศทาง (เช่น เดินไปข้างหน้า ถอยหลัง ไปข้างๆ และบน ล่าง ผ่าน ข้างใน ข้างนอก และรอบๆวัตถุ)
  • เปลี่ยนทิศได้อย่างคล่อง
  • พัฒนาความสามารถในการรับรู้การเคลื่อนไหว (เช่น ให้แตะเข่าโดยหลับตา)
  • แสดงท่าทางบุคลิกทางร่างกายที่ดี
  • ปรับปรุงการทรงตัว (เช่น กระโดดขาเดียว เดินบนคานเตี้ย เดินโดยมีของทูนหัว)
  • เริ่มการเรียงลำดับ (เช่น ปรบมือสี่ครั้งแล้วกระโดด)

เป้าหมายการพัฒนาวัตถุประสงค์รากฐานด้านสติปัญญา

เด็กๆ จะพัฒนาทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้

  • ประสบความสำเร็จในกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ
  • สร้างสรรค์ ประดิษฐ์ และค้นพบ
  • เรียนรู้จากความผิดพลาด
  • ยอมรับคำวิพากษ์ที่สร้างสรรค์
  • วางแผน ขยาย และเพียรทำกิจกรรม
  • ปรับตัวและยอมรับการเปลี่ยนแปลง
  • รับความท้าทายใหม่ๆ

เรียนรู้แนวคิดและข้อมูลต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

  • เริ่มมีความคุ้นเคยกับบทบาทของอาชีพต่างๆในสังคม (เช่น นักดับเพลิง เจ้าหน้าที่ตำรวจ พยาบาล)
  • เรียนรู้ที่จะรู้จักและใช้สิ่งของต่างๆที่พบรอบๆตัวพวกเขา
  • เริ่มพัฒนาความคล่องแคล่วทางเทคโนโลยี (เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ เทปเล่นและอัดเสียง หูฟัง กล้องถ่ายรูป)
  • เปรียบเทียบวัตถุและวัสดุต่างๆ (เช่น เรียบ/หยาบ)
  • บรรยายลักษณะของวัตถุ (เช่น สี ขนาด ลักษณะพื้นผิว รูปร่าง)
  • แสดงการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งในการนับ
  • รู้วัตถุประสงค์ของการนับ
  • เริ่มกะประมาณ
  • รู้จักวิธีการเรียกตำแหน่งของวัตถุ คน ฯลฯ (เช่น เหนือ ใต้ ข้างใน ข้างนอก)
  • เริ่มเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของการชั่ง ตวง วัด

พัฒนาทักษะการคิดอย่างตรรกะ

  • แก้โจทย์ปัญหา (เช่น จะต้องใช้ก้อนอิฐกี่ก้อนเพื่อทำกำแพงให้เหมือนอีกกำแพงหนึ่ง)
  • สร้างความหมายจากประสบการณ์
  • รู้จักและสร้างแบบรูปซ้ำ (เช่น แบบการร้อยลูกปัด แบบการเรียงก้อนอิฐ แบบรูปทางภาษา)
  • อธิบายความคล้ายและความแตกต่างระหว่างวัตถุ (เช่น ความหอม ลักษณะพื้นผิว เสียง)
  • จัดหมวดหมู่ของวัตถุและภาพตามลักษณะที่เหมือนกัน (เช่น รูปร่าง สี ขนาด)
  • จัดลำดับวัตถุ (เช่น เตี้ยที่สุดไปสูงที่สุด ว่างเปล่าจนเต็ม)
  • ต่อภาพจิ๊กซอว์ขนาด 20-50 ชิ้น
  • รวบรวม จัดระบบและตีความข้อมูลตามเกณฑ์ของพวกเขาเอง (เช่น นักเรียนหกคนชอบไอศกรีมรสวานิลลามากที่สุด สิบคนชอบรสสตรอเบอร์รี่ดังนั้นเราควรทำรสสตรอเบอร์รี่)
  • เชื่อมโยง (เช่น”หอก้อน(อิฐ)ล้มเพราะเรียงก้อนอิฐไม่เสมอกัน” “สีน้ำเงินกลายเป็นสีเขียวเพราะฉันเติมสีเหลืองลงไปผสม”)
  • คาดการณ์
  • ตั้งคำถาม
  • รู้ว่าบางครั้งก็จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง (เช่น เทคโนโลยีใหม่ การเปลี่ยนกิจวัตร)

แสดงความสนใจในประสบการณ์การเรียนรู้ในอนาคต

  • ริเริ่มการเรียกร้องขอเรื่องเล่า เกม หรือกิจกรรมการเรียนรู้แบบอื่นๆ
  • วางแผนงานล่วงหน้าและเขียนแผนของพวกเขาในรูปแบบง่ายๆ
  • ช่วยวางแผน theme ของห้องเรียน

สานต่อประสบการณ์ที่มีอยู่ในลักษณะที่จะขยายความเข้าใจในแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งให้กว้างขวางยิ่งขึ้นหรือเพื่อได้แนวคิดใหม่

  • ทบทวนประสบการณ์ที่เพิ่งมี
  • สร้างประสบการณ์ที่เพิ่งมีให้เป็นเรื่องน่าทึ่ง
  • ตั้งคำถามเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เพิ่งมี
  • ถามหาสื่อเพิ่มเติมเพื่อการเรียนรู้ที่มากขึ้น
  • ถามหาคำแนะนำในการเรียนรู้ที่มากขึ้น

พัฒนาความสามารถในการฟังเพื่อให้เข้าใจความหมายและความตั้งใจของผู้อื่น

  • ทำตามคำสั่งง่ายๆ
  • ตอบคำถามอย่างเหมาะสม
  • ให้ข้อคิดเห็นที่ตรงประเด็นและตั้งคำถามที่ตรงประเด็นระหว่างการสนทนาและพูดคุย
  • แสดงความสนใจในการรับฟังงานเขียนต่างๆ
  • แสดงความเคารพต่อผู้พูด

ใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายในสิ่งที่พวกเขาสังเกตเห็น รู้สึก คิด ได้ยิน ได้รส และได้กลิ่น

  • สื่อสารความคิด ความรู้สึก และอารมณ์
  • ถามเพื่อหาข้อมูล
  • บอกเรื่องราวเกี่ยวกับภาพ
  • อธิบายว่าแก้ปัญหาได้อย่างไร
  • มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  • เพิ่มพูนคำศัพท์

มีความสนใจและตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่อประสาทสัมผัสไม่ว่าในกลุ่มหรือเป็นรายบุคคล

  • สังเกต สำรวจ และสำรวจตรวจสอบในรายละเอียดของวัสดุใหม่ในห้องเรียน อาคารเรียน ฯลฯ
  • ตั้งข้อสังเกตที่ตรงประเด็นหรือตั้งคำถามเกี่ยวกับภาพยนตร์ เทป ฯลฯ

มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมการแสดงออก

  • เลือกกิจกรรมการเรียนรู้
  • ประเมินความสำเร็จของตนในงานที่ทำ
  • มีส่วนร่วมในกิจกรรมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
  • ใช้สื่อทรัพยากรต่างๆเพื่อช่วยในการแสดงออกของตน

สร้างโลกในจินตนาการโดยใช้วัสดุ

  • เลือก วัสดุอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อนำไปใช้งานตามความคิดหรือเพื่อใช้แก้ปัญหา (เช่น การสร้างด้วย blocks หรือ ดินน้ำมัน การใช้ตาชั่งสองแขน)
  • สวมบทบาทกับเด็กคนอื่นโดยใช้วัสดุต่างๆ (เช่น หุ่น)

แสดงความสนใจที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการสำรวจแบบรูป เสียง และเสียงสัมผัสของภาษาระหว่างกิจกรรมการฟัง การร้องเพลง และการพูด

  • เริ่มรู้จักรูปแบบของเสียงในธรรมชาติและในสิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้น (เช่น เปาะ-แปะ กุบ-กับ )
  • ขยับตามจังหวะของดนตรี (เช่น ตบมือ ดีดนิ้ว ก้าวเท้า)
  • ใช้อุปกรณ์เป็นจังหวะ

พัฒนาความรู้ว่าสิ่งพิมพ์และสัญลักษณ์ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวถ่ายทอดความหมาย

  • เข้าใจว่าความคิดและความคิดเห็นสามารถที่จะแสดงออกได้โดยการใช้ภาษาเขียนเช่นเดียวกันกับการใช้ภาษาพูด
  • พัฒนาความรู้ว่าวัฒนธรรม วิถีทางการดำเนินชีวิต และประสบการณ์ต่างๆ ถูกถ่ายทอดลงในงานเขียนได้
  • เริ่มรู้จักเครื่องหมายการเขียนบางอย่างและชื่อของเพื่อนและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนอ่านออกและเขียนได้คล่อง
  • สร้างสรรค์งานศิลปะที่เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเรื่อยๆ
  • รู้จักตัวเลขและจำนวน
  • เรียงลำดับ และนับได้ถึง 100
  • บวกและลบเลขหนึ่งหลัก
  • บวกและลบเลขสองหลักกับเลขหนึ่งหลัก
  • รู้จักสีต่างๆ เช่น สีขาว สีเหลือง สีน้ำเงิน สีแดง สีฟ้า สีม่วง สีส้ม สีชมพู สีดำ สีน้ำตาล
  • รู้จักรูปเรขาคณิต เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม วงรี
  • รู้จักคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 200-300 คำ
  • รู้จักประโยคภาษาอังกฤษอย่างง่ายๆ เช่น Hello, Good morning, Thank you, My name is ............., I can .........,

ขอบเขตเนื้อหา

เนื้อหาในกิจกรรมการเรียนรู้ครอบคลุมประเด็นต่างๆ 4ลักษณะ ได้แก่

  1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
  2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคลและสิ่งแวดล้อม
  3. ธรรมชาติรอบตัว
  4. สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก

สาระการเรียนรู้

โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์จัดการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยโดยใช้แนวทางของธีม (Theme approach) ไม่เน้นการสอนเป็นรายวิชาเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้ อย่างไรก็ตามในระดับการวางแผนขอบเขตและกระบวนการเรียนรู้ โรงเรียนฯ ได้กำหนดให้การจัดการเรียนรู้ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ สุขศึกษา ดนตรี ทัศนศิลป์ และสังคมศึกษา ตัวอย่างเช่น ขอบเขตสาระวิทยาศาสตร์จะครอบคลุมวิทยาศาสตร์ทั้งสามสาขาได้แก่ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์โลก และวิทยาศาสตร์กายภาพ

ในขณะที่ในส่วนของสาระคณิตศาสตร์จะครอบคลุมถึง การคัดแยกและการจำแนก แบบรูป จำนวน เรขาคณิต เงินและเวลา ชั่งตวงวัด ข้อมูลและกราฟ การบวกและลบ

แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยอาศัยธีม (Theme Approach)

การจัดการเรียนรู้แบบธีมเป็นแนวทางที่หลักสูตรระดับมาตรฐานโลกนิยมใช้กันโดยทั่วไป โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ได้ยึดถือแนวทางนี้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยมาโดยตลอด และพบว่าเด็กๆ ประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีน่าประทับใจ แนวทางการสอนนี้จะใช้การกำหนดหัวข้อหลักและหัวข้อย่อย และวางแผนตามหััวข้อที่กำหนดและขอบเขตการเรียนรู้ของกลุ่ม สาระต่างๆที่สอดคล้องกับหัวข้อนั้น

คณะครูและผู้บริหารได้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดหัวข้อธีมที่เหมาะสมกับเด็ก หัวข้อเรื่องที่เป็นท่ีนิยมใช้ได้แก่ แรกพบ Myself สัตว์ ผีเสื้อ การขนส่ง ฤดูกาล และประสาทสัมผัส เป็นต้น ผังในรูปต่อไปเป็นภาพรวมของหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัยของโรงเรียนฯ

Error | Attaphiwat

Error

The website encountered an unexpected error. Please try again later.