สาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาแกน

โรงเรียนฯ ได้ปรับจำนวนรายวิชาที่คณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน กำหนดไว้ 9 วิชา เป็น 12 วิชา เพื่อความเหมาะสม นักเรียนได้เรียนรู้จริงในแต่ละ กลุ่มสาระ และได้เห็นการเชื่อมโยงกับวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ทั้งนี้ โรงเรียนฯได้แยกกลุ่ม สาระการเรียนรู้รายวิชาต่อไปนี้

  • แยกวิชาศิลปะออกเป็น วิชาดนตรีและนาฏศิลป์ และวิชาทัศนศิลป์ เพราะคุณครูผู้สอนมักมีความชำนาญเฉพาะด้าน
  • แยกวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ออกเป็นวิชาสุขศึกษา และวิชาพลศึกษา วิชาสุขศึกษามีความเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์และพลศึกษา
  • แยกวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ออกเป็น วิชาการงานอาชีพ และวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เพราะคุณครูผู้สอนมักมีความชำนาญเฉพาะด้าน บรรยากาศการเรียนของทั้งสองวิชาแตกต่างกัน

ตัวอย่างการยกระดับหลักสูตร

โรงเรียนฯ ได้ดำเนินการในการสร้างการเรียนรู้คุณภาพบนพื้นฐานของหลักสูตรแกนกลางการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ในหลายด้านหลายประการ เพื่อให้เห็นภาพของการดำเนินการดังกล่าวชัดเจนยิ่งขึ้น จึงใคร่ยกตัวอย่างของการดำเนินการดังกล่าวบางประการ ดังต่อไปนี้

  • นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว โรงเรียนฯได้จัดทำหลักสูตรในลักษณะที่เป็น การเรียนรู้บนฐานของทรัพยากรการเรียนรู้ (resource based learning) โดยใช้ทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลายหลากนอกเหนือไปจากครูและกระดาน ตัวอย่างของทรัพยากรการเรียนรู้เหล่านี้ได้แก่ สื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (manipulatives) สื่อภาษาอังกฤษต่างๆ (reading rods, vocabulary cards, posters, video clips, ภาพยนตร์) สื่อและวัสดุอุปกรณ์การทดลองวิทยาศาสตร์ การนำเสนอด้วย PowerPoint (หรือ Keynote ในกรณีของเครื่อง Apple)สื่อวัสดุหลายหลากสำหรับงานทัศนศิลป์ อุปกรณ์ดนตรี เช่น Key Board ทั้งนี้โรงเรียนฯ ได้จัดระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายครอบคลุมทั่วบริเวณโรงเรียนฯ และในทุกห้องเรียนได้จัดให้มีจอมอนิเตอร์ต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ฯลฯ
  • โรงเรียนฯ ได้จัดให้มีกิจกรรม “เรียนรู้คือความสุข” ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลากหลายและไม่จำกัดขอบเขต เนื้อหาเพียงในหลักสูตรเท่านั้น
  • โรงเรียนฯ ได้จัดระบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยการทดลองเป็นหลัก เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสค้นพบความรู้ หรือยืนยันสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง จัดระบบแบ่งวิทยาศาสตร์ออกเป็น 3 หมวดได้แก่ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และวิทยาศาสตร์โลก (ดาราศาสตร์) และกระจายเนื้อหาในแต่ละหมวดในแต่ละชั้นปีให้มีความต่อเนื่องเป็นปริมาณใกล้ เคียงกัน
  • โรงเรียนฯ ได้ขยายเนื้อหาวิชาประวัติศาสตร์ให้ครอบคลุมถึงประวัติศาสตร์โลกโดยกว้าง เพื่อใช้เชื่อมโยงสู่ประวัติศาสตร์ไทย และสร้างความหมายและเนื้อหาของวิชาประวัติศาสตร์ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  • โรงเรียนฯ ได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้สมบูรณ์เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่าน และเขียนภาษาอังกฤษที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ อย่างคล่องแคล่ว
  • โรงเรียนฯ ได้จัดทำเอกสารตำราเรียนโดยเรียบเรียงและนำมาปรับให้เหมาะสมจากเอกสารตำรา เรียนระดับมาตรฐานโลก และแหล่งข้อมูลทางวิชาการ สำหรับวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  • โรงเรียนฯ ได้พัฒนาให้นักเรียน “รู้” (ไม่ใช่ท่อง) สูตรคูณอย่างคล่องแคล่วเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ในระดับที่สูงยิ่งขึ้นต่อไป พร้อมทั้งปูพื้นฐานการคิดเชิงพีชคณิตคู่ขนานไปกับการสอนเลขคณิต เพื่อสร้างความพร้อมในการเรียนรู้และพัฒนากระบวนการคิดให้แตกกว้างออก
  • โรงเรียนฯ ได้เรียบเรียงและจัดทำตำราเรียน “เพลินภาษา” เป็นส่วนเพิ่มขยายของวิชาภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านใน 8 ด้านได้แก่ ความคิดหลักและรายละเอียด ลำดับเหตุการณ์ เปรียบเทียบความคล้ายและความแตกต่าง สรุปย่อ สรุปความ มูลเหตุและผลลัพธ์ ปัญหาและคำตอบ และข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นนอกจากนี้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ตำราเรียน “เพลินภาษา” นี้ยังเป็นการปลูกฝังความรักในการอ่านให้กับนักเรียนอีกด้วย
  • โรงเรียนฯ ได้จัดการเรียนรู้ในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ทั้งในตัววิชาและให้นักเรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในโอกาสต่างๆ เช่น กิจกรรมเรียนรู้ด้วยโครงงาน กิจกรรมเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า โดยกำหนดเป้าหมายให้นักเรียนสามารถใช้โปรแกรมพื้นฐาน เช่น Microsoft Word Microsoft Excel Photoshop และนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆได้ รู้จักวิธีการสืบค้นหาความรู้และข้อมูล
  • โรงเรียนฯ ได้จัดทำสมุดรายงานการประเมินผลนักเรียนอย่างละเอียดครบถ้วนในทุกด้าน โดยจัดทำปีละ 4เล่ม
Error | Attaphiwat

Error

The website encountered an unexpected error. Please try again later.